โรคไต อาการเริ่มต้นและระยะสุดท้าย
โรคไต อาการเริ่มต้นและระยะสุดท้าย ต้องบอกเลยว่าโรคไตนั้น ถือได้ว่าเป็นภัยเงียบที่ไม่ค่อยจะแสดงให้เราเห็นในส่วนของอาการเริ่มต้นสักเท่าไหร่ โดยที่สาเหตุของโรคเองก็เกิดมาจากหลายปัจจัยประกอบควบคู่กันไปนั่นเอง แต่ปัจจุบันกลับพบด้วยเช่นเดียวกัน ว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการกินเค็มมาก ๆ จนเกินไป ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเลยต่อการป่วยเป็นโรคไตนั้นเอง
เรียกว่าปัจจุบันนี่เองโรคไต ก็ถือเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยมาก ๆ และเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่มีความรุนแรงมาก ๆ เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นอะไรที่เป็นภัยเงียบ ที่ค่อนข้างอันตรายเลย ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุของโรคไตเองก็จะมีมาจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง ทั้งเรื่องการรับประทานยา การรับประทานอาหาร ซึ่งบอกเลยว่าโรคไตในระยะแรก จะไม่แสดงอาการอะไรเลย อาจจะทำผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ซึ่งบอกเลยว่าปัญหาดังกล่าวเอง จำเป็นที่จะต้องได้รับความรู้ เพื่อตระหนักเข้าใจและปรับตัวมากยิ่งขึ้น
สำหรับโรคไตแล้วมีการแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ตามค่าการทำงานของไต ซึ่งระยะที่เราจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด คือ ระยะที่ 4 คือไตเสื่อมมากทำงานได้น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์และระยะที่ 5 ไตวายระยะเรื้อรังทำงานได้น้อยกว่า 15% นั่นเอง
ในส่วนของอาการโรคไตเอง ที่พบได้บ่อยคือ ระยะแรกผู้ป่วยนั้นจะไม่แสดงอาการอะไร แต่ทราบว่าเป็นโรคไตจากผลตรวจเลือดหรือผลตรวจปัสสาวะผิดปกติ แต่ว่านอกจากนี้เองก็มีอาการที่เราสามารถที่จะสังเกตเพิ่มเติมประกอบได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหนังตาบวม ปวดตามตัว ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูง มีปัสสาวะเป็นฟอง มีปัสสาวะมากกว่า 2 ครั้งต่อคืน
ซึ่งสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย ก็จะมีอาการในลักษณะที่เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ตัวซีด หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ เกิดการเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายนั่นเอง สำหรับวิธีการรักษาเอง ก็มีหลากหลายวิธีด้วยกัน โดยอาจจะมีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางผนังช่องท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเลยก็ได้
เรียกได้ว่าเป็นข้อมูลที่คุณนั้นควรจะรู้ไว้ ก็ถือว่าเป็นข้อมูลทางสุขภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยวิธีที่เราจะลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด ก็อย่าลืมรักษาร่างกายให้แข็งแรง ลดการรับประทานอาหารรสจัด รวมถึงควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมยาที่มีผลกับไต แล้วก็ถ้าหากทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยง ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไปนั่นเอง